M.K. Unigroup Corporation

เอแคลร์ VS ชูครีม กับเคล็ดลับที่รู้แล้ว อร่อยแน่

admin01
mkunigroup

หลาย ๆ คน อาจจะสงสัยความแตกต่างระหว่าง เอแคลร์ VS ชูครีม เพราะคล้ายกัน วันนี้มารู้จักทั้งสองอย่างนี้ พร้อมทั้งเคล็ดลับดี ๆ ที่รู้แล้ว รับรองว่าทำออกมาอร่อยแน่

 

ขนมทั้งสองชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศส มีรสชาติอร่อย วิธีทำไม่ยุ่งยาก และสามารถเลือกทำไส้ได้หลากหลายรส ซึ่งตอบโจทย์ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบดีเรื่องความแตกต่างของขนมทั้ง 2 ชนิดนี้ เรามาทำความรู้จักกับชูครีมและเอแคลร์กันค่ะ

 

1. ความโดดเด่นและแตกต่าง ระหว่าง เอแคลร์ VS ชูครีม

คนไทย นั้นมักจะเรียกรวมของขนม 2 อย่างนี้เป็น เอแคลร์ แต่ว่าแท้จริงแล้ว เจ้าขนมทั้งสองอย่างนี้ มีชื่อเรียกที่ต่างกัน และสิ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเลย ของขนมสองอย่างนี้ก็คือรูปทรงที่สามารถสังเกตได้ ดังนี้

 

 

เอแคลร์:

ตัวแป้ง นั้นมักจะถูกบีบ ให้มีทรงยาว และอบจนกระทั่ง ผิวกรอบข้างใน กลายเป็นโพรง สอดไส้ ด้วยคัสตาร์ด และตกแต่งด้านบน ให้สวยงาม ด้วยหน้าต่าง ๆ หรือจะตกแต่งด้วย ผลไม้ต่าง ๆ ที่มีสีสันสดใส ก็จะยิ่งเพิ่มความสวยงาม และน่ารับประทานได้มากขึ้น

 

 

ชูครีม:

ตัวแป้ง ขนมด้านนอก จะมีลักษณะเป็นก้อนกลม ๆ คล้ายกะหล่ำปลี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 2 นิ้ว หรือว่า ขนาดนั้น จะตามความต้องการ ด้านใน เป็นไส้ครีม อาทิ ไส้ครีมอัลมอนด์, ไส้ช็อคโกแลต หรือไส้ครีมต่าง ๆ ตามที่ทต้องการ

 

2. เทคนิคดีๆ ที่อยากแนะนำ แป้งพองตัวได้เต็มที่ เมื่อความร้อนนั้นพอเหมาะ

 

เอแคลร์:

บีบแป้ง และ ควรอบทันที

ควรบีบแป้งชู ที่ผสมไว้ และนำเข้าเตา เพื่ออบทันที ไม่ควรบีบไว้นาน เพราะว่า จะทำให้ หน้าขนมแห้ง ไม่ขึ้นฟูเวลาอบ จะดูไม่สวยงามอีกด้วย

 

อบด้วยอุณหภูมิสูง เพื่อให้เปลือกมีสีสวย เพื่อความอยู่ตัว

ควรใช้อุณหภูมิ ในการอบประมาณ 200 - 220 องศาเซลเซียส เพื่อให้แป้งพองตัว และอยู่ตัวเสียก่อน จากนั้น จึงค่อยลดอุณหภูมิลงเหลือ 190 องศาเซลเซียส เพื่อให้เปลือก มีสีสวย อยู่ตัวยิ่งขึ้น ไม่ควรนำออกจากเตาอบ เร็วเกินไป นั่นเพราะ จะทำให้เปลือกหดตัว และแบนง่าย

 

ชูครีม:

เปลือกชูครีมต้องผ่านความร้อนสองครั้ง

ความร้อนครั้งที่หนึ่ง คือตอนผสมแป้ง ต้องผสมแป้งในน้ำเดือดจัด ที่มีเนยละลาย นั่นเพราะ เปลือกชูครีมต้องการไอน้ำ ในการพองตัวระหว่างอบ เมื่อแป้งโดนความร้อนดูดน้ำไว้ในตัว จะทำให้เกิดการพองตัวขึ้น น้ำจะถูกแป้งดูดไว้จนเกือบหมด พร้อมกับเนยละลาย และขึ้นเป็นก้อนโด ถ้าหากว่าผสมในอุณหภูมิปกติ ก็จะได้ส่วนผสมที่เหลว ๆ ไม่สามารถบีบขึ้นรูปได้

ความร้อนครั้งที่สอง นั้นคือ การอบ ควรอบที่อุณหภูมิ 190 องศาเซลเซียส ความร้อนที่เกิดขึ้นตอนอบ ก็จะทำให้น้ำที่ก้อนโดอุ้มไว้เปลี่ยนเป็นไอน้ำ ทำให้ขนมพองขึ้น และเกิดเป็ฯโพรงด้านใน

 

ในขั้นตอนสุดท้าย ให้ใส่ไข่เมื่อก้อนโดอุ่น

เพราะถ้าก้อนโดยังร้อนจัดจะทำให้ไข่สุก แต่ถ้าปล่อยให้ก้อนโดเย็นจนแห้งสนิท การผสมไข่จะยากกว่า ดังนั้นอุณหภูมิที่อุ่นๆ จะทำให้การผสมไข่กับก้อนโดง่ายขึ้น

 

3. การใส่ไส้ลงในชูครีมและเอแคลร์ เปลือกและไส้ต้องเย็นทั้งคู่จะเก็บได้นาน

 

การใส่ไส้คัสตาร์ดลงในเอแคลร์

การใส่ไส้คัสตาร์ด ต้องรอให้เปลือกของเอแคลร์ และไส้ต้องเย็นทั้งคู่

ถ้าเปลือกร้อนแต่ไส้เย็น จะทำให้ไส้เอแคลร์ เก็บไว้ได้ไม่นาน ทำให้เสียเร็ว

หากเปลือกเย็นแต่ไส้ร้อน จะทำให้เปลือกแฉะ และจะทำให้เอแคลร์เสียเร็วเช่นกัน

 

 

 

การใส่ไส้คัสตาร์ดลงในชูครีม

ต้องรอให้เปลือกและไส้เย็นทั้งคู่เพื่อให้เก็บไว้ได้นานขึ้น ไม่เสียเร็ว แต่เนื่องจากชูครีมมีขนาดชิ้นที่ใหญ่กว่าเอแคลร์ โดยทั่วไปจะนำคัสตาร์ดมาผสมกับวิปปิ้งครีม ให้มีความฟู โดยผสมในปริมาณที่บีบไส้ลงในชูครีมและสามารถคงตัวได้

 

 

 

โดยขนมทั้ง 2 ชนิดควรเก็บไว้ในตู้เย็น และควรรับประทานภายใน 3 วัน

 

4. ส่วนผสมหลักเพิ่มความอร่อยให้ ชูครีม และเอแคลร์ ที่ขาดไม่ได้เลย นั้นคือ เอแคลร์ และ ชูครีม มีส่วนผสมหลักเหมือน ๆ กันคือ น้ำ, ไขมัน, แป้ง และไข่ โดยบางสูตร นั้นจะมีนมเป็นส่วนผสมด้วย เมื่อนำไปอบแล้ว หน้าของขนมจะมีสีสวย ดูเงางาม น่ารับประทาน

 

เทคนิคลดต้นทุนการผลิตด้วยการเลือกใช้นมข้นจืดแทนนมสด

นมข้นจืด นั้นเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ช่วยลดต้นทุน พร้อมสร้างคุณภาพให้กับเบเกอรี่ ได้มากเทียบเท่ากับการใช้นมสด มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน โดยสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมแทนนมสดในการทำชูครีมและเอแคลร์ได้ ซึ่งทำให้ได้ปริมาณเพิ่มขึ้น และยังช่วยขับส่วนผสมทุกอย่างให้เด่นชัดขึ้น ทั้งในเรื่องของรสชาติ สี กลิ่น และเมื่อผ่านการอบ หน้าขนมจะมีสีสวย รวมไปถึงยังทำให้ขนมหอมกลิ่นนม และมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ น่ารับประทานมากขึ้นอีกด้วย

 

เรียกได้ว่า เอแคลร์ VS ชูครีม โดยขนมทั้งสองชนิดมีความใกล้เคียงกันมาก แต่โดดเด่นที่รูปทรง และรสชาติอันเป็นลักษณะเฉพาะตัว โดยเคล็ดลับความอร่อยขึ้นอยู่กับเทคนิคและการเลือกใช้วัตถุดิบ การใส่นมข้นจืดจะช่วยทำให้ขนมมีกลิ่นหอม และมีสีสันที่น่ารับประทานยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ โดยที่สามารถใช้แทนนมสด ซึ่งมีต้นทุนสูงและมีอายุการเก็บรักษาที่สั้นกว่า สำหรับเทคนิคดี ๆ แบบนี้ ทุกคนสามารถนำเทคนิคต่าง ๆ ที่แนะนำไปลองปรับใช้ดู เพื่อสร้างสรรค์เอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับเบเกอรี่ของคุณได้เลยนะคะ

 

 

 

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

English Muffin ขนมปังสไตล์อังกฤษ หอม นุ่ม ละมุน ทำเองก็ได้

บาแก็ต ขนมปังฝรั่งเศส เนื้อสัมผัสแข็ง ที่กินกับอะไร ก็เข้ากัน