M.K. Unigroup Corporation

เริ่มต้นธุรกิจ เบเกอรี่ ( Bakery ) ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

admin01
mkunigroup

ใครที่รักการทำขนมแล้วมีไอเดียที่ทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ขาย ในสมัยนี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไปแล้ว เพราะคุณสามารถเริ่มต้นขายเป็นธุรกิจเล็ก ๆ จากครัวที่บ้าน วางแผนการขายให้ดี แค่นี้ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้ว

 

     สำหรับคนที่กำลังอยากจะทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ขาย บทความนี้จะช่วยให้คุณเตรียมตัว ก่อนเริ่มเป็นเจ้าของธุรกิจ เบเกอรี่ ( Bakery ) ตั้งแต่การวางแผนก่อนเปิดธุรกิจ ไปจนถึงแผนการขาย ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ตามต้องการ

 

เริ่มต้นธุรกิจง่าย ๆ ด้วยโฮมเมด เบเกอรี่ ( Bakery )

     โฮมเมด เบเกอรี่ ( Homemade Bakery ) เป็นอีกหนึ่งไอเดียในการทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ขายที่เริ่มต้นได้จากครัวที่บ้าน ด้วยการทำเมนูขนมที่คุณทำเองด้วยเตาอบที่บ้าน ทำให้คุณสามารถเลือกวัตถุดิบที่ดี และรักษาคุณภาพของขนมได้ด้วยตัวเอง โดยเมื่อทำขายแล้ว ลูกค้าก็จะได้ทานขนมอบที่ดี มีความสดใหม่ อร่อย มีคุณภาพ เหมือนกับที่คุณทำทานเองที่บ้าน

 

ทำโฮมเมด เบเกอรี่ ( Homemade Bakery ) ขายในยุคนี้ดียังไง ?

  • หากว่าคุณรักในการทำขนมอบ หรือ เบเกอรี่ ( Bakery ) ในหลากหลายเมนู คุณก็สามารถสร้างรายได้จากการทำในสิ่งที่คุณหลงใหล พอทำแล้วมีความสุข ก็จะส่งผลให้คุณมีไอเดียในการต่อยอดที่มากขึ้น
  • คุณจะได้ใช้ไอเดีย และนำเสนอไอเดียของขนมอบได้อย่างหลากหลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เมนู เบเกอรี่ ( Bakery ) ที่คุณทำขายมีเอกลักษณะเฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นหน้าตาที่น่ารักประทาน หรือรสชาติที่อร่อยไม่เหมือนใคร
  • ขนมอบที่ได้มีความสดใหม่ เพราะคุณได้ควบคุมคุณภาพเองทุกชิ้น ทุกขั้นตอน แถมวัตถุดิบที่เลือกใช้ก็ได้คุณภาพตามที่คุณต้องการ
  • เริ่มต้นในการทำได้ไม่ยากอีกต่อไป จากที่สมัยก่อนอาจจะต้องมีหน้าร้าน ต้องลงทุนเช่าที่ ลงทุนทำครัว จ้างพนักงาน แต่ในตอนนี้คุณสามารถเริ่มทำจากเล็ก ๆ เองได้จากครัวที่บ้าน แล้วใช้การตลาดยุคใหม่ในการขาย ก็สร้างรายได้ให้กับคุณแล้ว
  • มีความยืดหยุ่นในการทำธุรกิจ โดยคุณอาจสามารถเลือกระยะเวลาในการทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ขาย ได้ตามความสะดวกของคุณ ซึ่งสัปดาห์หนึ่งอาจจะไม่ต้องขายทุกวัน ก็ช่วยให้คุณมีเวลาว่างในการทำอย่างอื่นที่คุณต้องการได้
  • มีลูกค้า หรือตลาดที่รองรับขนมที่อร่อยอยู่เสมอ หากว่าคุณมั่นใจในฝีมือของตัวเอง และไม่หยุดพัฒนา ก็จะทำให้ธุรกิจเล็ก ๆ เติบโตได้ในอนาคตแน่นอน

 

การเตรียมตัวก่อนเริ่มขาย เบเกอรี่ ( Bakery )

     สำหรับใครที่มีฝีมือ และความพร้อมในการทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ขาย แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นธุรกิจจากในครัวของคุณอย่างไรดี มาดูวิธีการเตรียมตัวเบื้องต้น ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับคุณได้เลย

1. เลือกชนิดของ เบเกอรี่ ( Bakery ) ที่จะทำขาย

     ในขั้นตอนแรกให้เลือกชนิดของขนมอบที่คุณจะทำขายก่อน โดยให้ดูจากความชอบในขนมนั้นเป็นหลัก เพื่อชูจุดเด่นให้ร้าน หรือถ้าคุณทำขนมได้หลากหลายรูปแบบ ก็สามารถทำขายแบบคละชนิดกันได้ตามความต้องการ หากคุณอยากได้ไอเดียสำหรับการเลือกชนิดของ เบเกอรี่ ( Bakery ) เพิ่มเติม เราได้นำ เบเกอรี่ ( Bakery ) 6 ประเภทมาแนะนำให้กับคุณ ซึ่งได้แก่

     1. ขนมปัง เช่น ขนมปังฝรั่งเศส, ขนมปังขาว, ขนมปังโฮชวีต, บริยอช, บาร์แกต, เพรทเซล, สโคน เป็นต้น

     2. เค้ก เช่น สปันจ์เค้ก, บัตเตอร์เค้ก, ชิฟฟ่อนเค้ก เป็นต้น

     3. พายชั้น ที่สามารถทำไส้ได้ทั้งคาวและหวาน เช่น พายไก่, พายเนื้อ, พายหมูแดง, พายสับปะรด, พายมะพร้าว เป็นต้น

     4. ขนมอบที่มีแป้งร่วนกรอบ เช่น ชอร์ตโด, คุกกี้, พายร่วน, ทาร์ต เป็นต้น

     5. ขนมอบที่ใช้การประยุกต์ของพายชั้นกับขนมปังเข้าด้วยกัน เช่น เดนนิส, ครัวซองต์ เป็นต้น

     6. ขนมอบที่เป็นโพรงด้านในสำหรับใส่ไส้รสชาติต่างๆ เช่น ชูเพรสทรี, เอแคลร์ เป็นต้น

2. เตรียมอุปกรณ์ในการทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ขายให้พร้อม

     หากคุณจะทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ขาย แน่นอนว่าอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “เตาอบ” เพราะ เบเกอรี่ ( Bakery ) ก็คือขนมอบนั่นเอง ทีนี้จะเลือกขนาดเตาอบเล็ก หรือใหญ่ก็ต้องขึ้นอยู่กับเงินลงทุนของคุณแล้ว โดยอุปกรณ์ทำขนมอบที่สำคัญ จะมีหลัก ๆ ที่ต้องเตรียมเอาไว้ ได้แก่

  • เครื่องตีส่วนผสม
  • เครื่องชั่งน้ำหนัก
  • ช้อนตวง ถ้วยตวง เหยือกตวง
  • ชามผสม
  • ตะกร้อมือ
  • ที่คลึงแป้ง
  • ตะแกรงร่อนแป้ง
  • กระดาษไข
  • ที่พักขนม
  • มีดตัดขนม
  • ถุงมือกันความร้อน
  • แปรงทาเนย
  • แม่พิมพ์

     สำหรับอุปกรณ์เพิ่มเติม เมื่อคุณเลือกชนิดของ เบเกอรี่ ( Bakery ) ที่จะทำขายได้แล้ว ก็จะช่วยให้คุณพอจะรู้ว่าต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรเพิ่มอีกบ้าง

3. วางแผนเงินทุนให้ชัดเจน

     เรื่องของเงินทุนเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบ ซึ่งในการทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ขาย คุณควรวางแผนเงินทุนให้ดีว่าจะนำมาจากไหน ถ้าเป็นเงินเก็บของตัวเอง ก็อาจจะไม่ต้องห่วงเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ แต่ถ้าหากว่าเงินทุนนั้นได้มาจากการกู้ยืม ก็ควรต้องระมัดระวังในการใช้จ่ายทั้งหมดให้ดี เพราะสุดท้ายแล้วการขายจะต้องนำทุนกลับมาคืนให้ได้

     โดยการวางแผนเงินทุน คุณจะต้องแจกแจงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จะใช้ในการดำเนินกิจการออกมาให้ครบถ้วน ทั้งค่าอุปกรณ์ ค่าไฟ ค่าวัตถุดิบ ค่าโฆษณา ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าขนส่ง เพื่อให้คุณทราบต้นทุนที่แน่ชัดในการขาย ซึ่งจะส่งผลต่อ “การตั้งราคาขนมแต่ละชิ้น” ที่คุณจะวางขายนั่นเอง

     ส่วนในเรื่องของการกำหนดปริมาณเงินทุนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ขายของคุณ หากต้องการทำขายในปริมาณที่มาก ต้นทุนก็อาจจะสูงขึ้น แต่ก็จะทำให้มีรายได้มากขึ้น

     รวมไปถึงการเลือกสรรวัตถุดิบในการทำ ถ้าหากคุณเลือกวัตถุดิบที่มีราคาสูง ก็จะส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้นได้เช่นเดียวกัน โดยทั้งหมดนี้คุณควรจะต้องวางแผนให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น เพื่อรักษาคุณภาพ และรายได้จากการขาย เบเกอรี่ ( Bakery ) ให้เป็นไปตามที่คุณตั้งเอาไว้

4. คิดวิธีบริหารจัดการระบบให้ครบรอบด้าน

     การบริหารจัดการระบบทุกอย่างเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ขาย แม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้ทำขายทุกวัน แต่ก็จำเป็นต้องวางระบบให้ดี เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น โดยแบ่งได้เป็น

ระบบการจัดการในครัว : เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะในการทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ขายในแต่ละวัน คุณจะต้องมีวัตถุดิบที่เพียงพอต่อการทำขายในปริมาณที่ต้องการ จึงควรวางแผนเรื่องปริมาณวัตถุดิบให้ดี ว่าจะซื้อของเข้ามาเติมสต็อกเมื่อไร จะจัดเก็บอย่างไร จึงจะเพียงพอ และไม่เหลือทิ้งโดยเปล่าประโยชน์

ระบบการตลาด : อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ยอดขายเพิ่มขึ้น ด้วยการวางแผนเอาไว้เลยว่าในแต่ละเดือนคุณจะทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ชนิดไหนขายบ้าง ถ้ามีไส้ใหม่ หรือลูกเล่นใหม่ ๆ ตามเทศกาล จะต้องขายเมื่อไหร่ ขายระยะเวลาเท่าไร เพื่อให้คุณสามารถจัดเตรียมวัตถุดิบได้ทันเวลา รวมถึงฝึกฝนฝีมือให้ชำนาญก่อนทำออกขายด้วย

5. เลือกช่องทางการขายที่เหมาะกับร้านของคุณ

     สำหรับการทำขนมขายแบบโฮมเบเกอรี่ ( Home Bakery ) สามารถเลือกช่องทางการขายได้หลากหลายที่เหมาะสมกับคุณ โดยแบ่งออกเป็น

  • ให้ลูกค้ามาซื้อถึงที่บ้านแบบนำกลับ

     การขาย เบเกอรี่ ( Bakery ) แบบโฮมเมด ไม่ใช่การขายที่เน้นความเป็นพิธีรีตองที่ลูกค้าต้องเข้ามาสั่ง และนั่งทานที่ร้าน แต่ลูกค้าสามารถได้รับประสบการณ์จากการซื้อ เบเกอรี่ ( Bakery ) ในรูปแบบที่อบอุ่นกว่า ที่เหมือนกับการเดินทางมาบ้านของคนรู้จัก ดมกลิ่นขนมอบที่ออกจากเตามาใหม่ ๆ แล้วเลือกซื้อขนมที่ชอบกลับไปทานที่บ้าน

  • ขายให้กับร้านค้าที่รับไปขายต่อ

     หากว่าคุณสามารถทำได้ในปริมาณที่เยอะ และรักษาคุณภาพของ เบเกอรี่ ( Bakery ) ที่ทำขายได้ ก็จะมีร้านค้าหลากหลาย รวมถึงคาเฟ่ต่าง ๆ มารับขนมของคุณไปขายต่อเอง ซึ่งก็จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้คุณสะดวกในการขายมากยิ่งขึ้น

  • ขายผ่านช่องทางออนไลน์แล้วจัดส่งไปยังลูกค้า

     อีกหนึ่งช่องทางขายยอดนิยมในตอนนี้ ที่คุณสามารถเลือกขาย เบเกอรี่ ( Bakery ) ได้ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ โดยให้ลูกค้าเข้ามาทำการออเดอร์เป็นรอบ ๆ และคุณก็ทำ เบเกอรี่ ( Bakery ) ส่งไปตามที่อยู่ของลูกค้าตามวันที่ลงไว้ ซึ่งก็จะช่วยให้คุณกำหนดจำนวนของ เบเกอรี่ ( Bakery ) ที่พอดี ในการขายแต่ละครั้งด้วย

6. คิดรูปแบบของบรรจุภัณฑ์

     บรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าที่มาซื้อขนมอบของร้าน แล้วสามารถจำเราได้ หรือถ้ามีคนได้รับเป็นของขวัญแล้วติดใจ จะรู้ช่องทางติดต่อมาที่ร้าน

     ซึ่งนอกจากการออกแบบให้สวยงามแล้ว ก็ออกแบบให้มีฟังก์ชันปกป้อง เบเกอรี่ ( Bakery ) ไม่ให้เสียหายขณะเดินทางก็สำคัญเช่นกัน เพื่อให้ลูกค้าที่เปิดกล่องออกมาแล้ว ขนมยังดูน่ารับประทานเหมือนกับเพิ่งออกจากเตามาใหม่ ๆ

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

ประเภทของ คุกกี้ ( cookies )

บราวนี่ ( Brownie ) มีเนื้อสัมผัสแบบไหนบ้าง